Lecture

มาดู Lecture Kip KiP KiP KiP KiP กันเลยจร๊า









บทที่ี่2


กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์
     จัดระบบโครงสร้างข้อมูล(Information Architecture)   การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลเป็นพื้นฐานในการออกแบบเว็บไซท์ที่ดี ได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ ระบบการทำงานแบบจำลอง ระบบเนวิเกชัน และอินเตอร์เฟสของเว็บดังนั้น การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการออกแบบเว็บไซต์การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล คือการพิจารณาว่า เว็บควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย เนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น นำมาจัดกลุ่มให้เป็นระบบ


Phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ(Research)1. รู้จักตัวเอง-กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม2. เรียนรู้ผู้ใช้-ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการการ3. ศึกษาคู่แข่ง-สำรวจการแข่งขันและการเรียนรู้คู่แข่ง

Phase 2 : พัฒนาเนื้อหา(Site Content)4. สร้างกลยุทธ์การออกแบบ5. หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา

Phase 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซท์(Site Structure)6. จัดระบบข้อมูล7. จัดทำโครงสร้างข้อมูล8. พัฒนาระบบเนวิเกชัน

Phase 4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ(Visual Design)9. ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ10. พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย

Phase 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production & Operation)11. ลงมือพัฒนาเว็บ12. เปิดเว็บไซท์13. ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อ


บทที่3
ออกแบบเพื่อผู้ใช้
ตัวอย่างเป้าหมายของเว็บทั่วไป ได้แก่ -เพิ่มรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการอย่างสมบูรณ์ -สร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง -โปรโมทสินค้าหรือบริการ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง -ลดค่าใช้จ่ายด้านการพิมพ์หรือการโฆษณา -เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่  เพื่อขยายฐานลูกค้า -ลดปริมาณโทรศัพท์ ในการตอบคำถามลูกค้า -สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน



ทำไมผู้ใช้จึงอยากเข้ามาในเว็บคุณ? การรวมความต้องการของหน่วยงานเข้ากับความต้องการของผู้ใช้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ของเว็บไซต์ และเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดเนื้อหาและฟีเจอร์ต่างๆ ของเว็บต่อไป
ความต้องการของหน่วยงาน V.S.ความต้องการของผู้ใช้ เว็บท่า : ต้องการรวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในเว็บของตนเพื่อเป็นศูนย์กลางความบันเทิง ข่าวสาร และสาระต่างๆ  ขณะที่ผู้ใช้อาจต้องการเพียงเข้าไปค้นหาลิงค์ ของเว็บที่สนใจ  เพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์เหล่านั้น เว็บธุรกิจ : ต้องการปรับตำแหน่งของบริษัทให้มี ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น โดยอาศัยการออกแบบที่สวยงามและเน้นถึงกลยุทธ์ใหม่ของบริษัท ขณะที่ผู้ใช้อาจไม่ สนใจสิ่งเหล่านั้น ต้องการเพียงข้อมูลของสินค้าเท่านั้น

วิธีการในการเรียนรู้เกี่ยวกับผู้ใช้ 1. สอบถามจากผู้ใช้ 2. ทดสอบการใช้งานจากผู้ใช้ คัดเลือกผู้ใช้แต่ละกลุ่มทดลองใช้งานเว็บของคุณ 3. สังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้ จากข้อมูลทางสถิติจากเว็บเซิร์ฟเวอร์(traffic log) ทำให้ทราบลักษณะการใช้งาน 4. สำรวจข้อมูลผู้ใช้ เช่น เว็บขายสินค้า ให้ความสนใจในอาชีพและรายได้ของผู้ใช้ แต่เว็บซื้อขายหุ้นไม่ค่อยสนใจเรื่องเหล่านี้ 



 บทที่4
จัดระบบข้อมูลในเว็บ
ปัญหาความคลุมเครือของกลุ่มข้อมูล-การแบ่งข้อมูลต้องอาศัยพื้นฐานทางด้านภาษามาช่วยเพราะคำหนึ่งคำมีความหมายได้หลายอย่างในเหตุการณ์ต่างกัน-การแบ่งหมวกหมู่ในเว็บมักจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น หัวเรื่องหรือข้อความ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจระบบการจัดกลุ่มข้อมูลที่เรา
ได้ออกแบบไว้การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลได้แก่ การจัดกลุ่มข้อมูลการกำหนดตำแหน่งของข้อมูลและเทคนิคที่ใช้นำเสนอผู้ออกแบบควรจัดกลุ่มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยรูปแบบการจัดกลุ่มข้อมูลอาจกระทำได้หลายลักษณะหลักการออกแบบโครงสร้างระบบข้อมูลแบบลำดับชั้นควรมีจำนวน บวกลบ รายการในเมนูที่มีจำนวนรายการมากกว่า 10จะสร้างความรู้สึกว่ามากเกินไปส่วนความลึกไม่ควรเกิน 4-5 ชั้น เพราะจะทำให้ผู้ใช้อาจหมดหวังและเลิกล้มความตั้งใจได้ โครงสร้างระบบข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ มีลักษณะคล้ายเครือข่ายโยงใยโครงสร้างระบบนี้แบ่งเป็น ส่วนคือรายการหรือกลุ่มข้อมูลที่ถูกลิงค์กับลิงค์ที่เชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้นส่วนใหญ่จึงมักนำระบบนี้มาใช้เป็นส่วนเสริมให้กับโครงสร้างข้อมูลแบบลำดับชั้นโครงสร้างข้อมูลแบบฐานข้อมูล มักนิยมใช้กับเว็บขนาดใหญ่ การนำระบบฐานข้อมูลมาใช้ในเว็บจะช่วยเพิ่มความสามารถในการค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง แต่เป็นเรื่องยากที่จะเอาข้อมูลทั้งหมดมาไว้ในฐานข้อมูล